กรณีศึกษา กองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านดงสระแก้ว ตำบลไผ่ล้อม อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์

โครงการจับตานโยบายสาธารณะ (Policy Watch) -1 ปีกับการจับตานโยบายรัฐบาล
มีนาคม 9, 2016
กรณีศึกษา การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มีนาคม 9, 2016

กรณีศึกษา กองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านดงสระแก้ว ตำบลไผ่ล้อม อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์

โครงการวิเคราะห์ความยั่งยืนของกองทุนสวัสดิการชุมชน กรณีศึกษา กองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านดงสระแก้ว ตำบลไผ่ล้อม อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์

โดย : ดร. พนินท์ เครือไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยที่ผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณมุ่งศึกษาการบริหารจัดการและศึกษาความยั่งยืนของกองทุนสวัสดิการชุมชนในพื้นที่ จ.อุตรดิตถ์ จานวน 10 กองทุน ภายใต้กรอบแนวคิดที่กาหนดร่วมกันระหว่างนักวิจัยและชุมชน ขอบเขตในการศึกษาครั้งนี้ทาการคัดเลือกศึกษากองทุนชุมชนในพื้นที่หมู่บ้านดงสระแก้ว ตาบลไผ่ล้อม อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ โดยได้รับทุนสนับสนุนรับพระราชทานเงินทุนเริ่มต้นจานวน 8,000 บาทในปี พ.ศ. 2551 และมีเงินทุนเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2556 ประมาณ 100,000 บาท วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 วิธีได้แก่ ใช้วิธีการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม สอบถามสมาชิกกลุ่มเกี่ยวกับข้อมูลด้านการบริหารจัดการการเงินของกลุ่ม และใช้เทคนิค Focus group interview เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลด้านการบริหารจัดการเชิงกลุ่มรวมทั้งวิเคราะห์สภาพปัญ หาและแนวทางการบริหารจัดการร่วมกัน โดยได้กาหนดบุคคลสาคัญที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการพูดคุย ได้แก่ หัวหน้ากลุ่มและสมาชิก หน่วยงานของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ และตัวแทนผู้นาต่างๆในชุมชน

ผลการวิจัยพบว่าหมู่บ้านดงสระแก้วมีระบบการบริหารจัดการกองทุนที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆในจังหวัดอุตรดิตถ์เนื่องจาก มีการบริหารงานภายใต้ “สถาบันการเงินชุมชนบ้านดงสระแก้ว” ที่รวบรวมกองทุนต่างๆมาบริหารจัดการร่วมกันนอกจากนี้พื้นฐานสังคมของพื้นที่มีความเข็มแข็ง ประชาชนมีความสามัคคีมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการจนเป็นพื้นที่ชุมชนต้นแบบของจังหวัด ทาให้ผลของการวิเคราะห์ความยั่งยืนของกองทุนสะท้อนให้เห็นว่ากองทุนแม่ของแผ่นดินมีความยั่งยืนในระยะสั้น (5-10 ปี) และเริ่มมีปัญ หาเผชิญกับความเสี่ยงทางการเงินในระยะยาว (15 ปี) ทั้งนี้เพื่อเป็นเตรียมความพร้อมให้กองทุนแม่ของแผ่นดินมีเสถียรภาพและมีความมั่นคงในระยะยาว จึงเสนอแนะแนวทางดังต่อไปนี้

  1. การปรับเปลี่ยนระเบียบบริหารจัดการการเงินเพื่อเพิ่มเงินสะสมของสมาชิกให้เพิ่มขึ้น เนื่องจากกองทุนแม่ของแผ่นดินพึ่งพาเงินทุนจากกิจกรรมทอดผ้าป่าและเงินบริจาคเป็นหลัก ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวมีความเสี่ยงไม่สามารถคาดการณ์ปริมาณเงินทุนที่จะสามารถระดมทุนในแต่ละปี นอกจากนี้กับผลการวิเคราะห์พบว่าการเสียชีวิตของสมาชิกจะมีอัตราสูงขึ้นในปีท้ายๆของการวิเคราะห์ ซึ่งหากกองทุนสามารถระดมเงินจากสมาชิกได้เพิ่มมากขึ้น จะทาให้สามารถปรับเพิ่มผลประโยน์ทดแทนให้กับสมาชิกเพิ่มมากขึ้น
  2. เสริมทักษะความรู้ด้านบัญชีการเงินซึ่งเป็นวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนในระยะสั้นที่ช่วยให้กองทุนรู้จักใช้ข้อมูลทางบัญชีและการเงินมาประกอบการตัดสินใจและขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินอื่นๆ ส่วนการเสริมทักษะและการเตรียมความพร้อมและประเมินตนเองเพื่อการลงทุนของกองทุนจะเป็นเครื่องมือที่สาคัญที่จะสร้างความยั่งยืนในการระดมจากการประกอบธุรกิจต่อยอดเงินได้ในอนาคต

อ่านรายละเอียดทั้งหมดได้จาก e-Book หรือเอกสารดาวน์โหลด

เอกสารดาวน์โหลดเป็น PDF

โครงการวิเคราะห์ความยั่งยืนของกองทุนสวัสดิการชุมชน
2.1 MB
1041 Downloads
รายละเอียด

Comments are closed.