โครงการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำร่างแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เอกสารทางวิชาการ หมายเลข 38 การอยู่อย่างเมืองเชิงนิเวศ (Urban Ecology): มิติใหม่ของการพัฒนาเมือง ณัฐพงษ์ จารุวรรณพงศ์ ได้รับการสนับสนุนจากโครงการนโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีดำเนินการโดย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กันยายน 2548
ในกระแสของการให้ความสนใจกับประเด็นสิ่งแวดล้อมในระดับโลกในทศวรรษที่ 703 แนวความคิดเรื่องการอยู่อย่างเมืองเชิงนิเวศได้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศสหรัฐอเมริกา นับแต่ปี ค.ศ. 1975 โดยกลุ่มสถาปนิกและนักเคลื่อนไหวทางสังคมซึ่งเชื่อว่าเมืองควรที่จะตอบรับได้ทั้งความต้องการของคนและธรรมชาติในเวลาเดียวกัน โดยในระยะเริ่มต้นได้มีการนำความคิดผ่านเครื่องมือในกระบวนการวางแผน และ การสร้างการมีส่วนร่วมกับสาธารณะเพื่อช่วยในการออกแบบและสร้างเมืองที่มีสุขภาวะที่ดีขึ้น โดยมีประเด็นสำคัญในการเริ่มต้นความเคลื่อนไหวคือการตั้งคำถามกับรูปแบบการใช้ชีวิตที่พึ่งพารถยนต์อย่างมากในสมัยนั้น อันนำไปสู่ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างมากมาย
กลุ่มความเคลื่อนไหวดังกล่าวเริ่มต่อสู้เพื่อสร้างเมืองที่สร้างให้กับคนไม่ใช่รถยนต์ กิจกรรมและความพยายามอย่างมากมายได้เกิดขึ้นตามมาทั่วโลกนับจากนั้นทั้งในระดับท้องถิ่น ประเทศทวีป หรือ แม้แต่ในระดับโลก โดยมีกลุ่มเคลื่อนไหวหลัก เช่น กลุ่มประเทศในทวีปยุโรปเหนือและยุโรปตะวันตก ซึ่งมีตัวอย่างที่ชัดเจนอย่างมากมายที่เกิดขึ้นนับแต่นั้นเป็นต้นมาดังที่จะกล่าวถึงในเอกสารฉบับนี้
120-38 การอยู่อย่างเมืองเชิงนิเวศ
Platforms: | Windows 8 |
Category: | การมีส่วนร่วมของประชาชน |
วันที่: | มิถุนายน 5, 2016 |