โครงการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำร่างแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เอกสารทางวิชาการ หมายเลข 10 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: ประมวลสถานภาพการศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กัณฑรีย์ บุญประกอบ ได้รับการสนับสนุนจากโครงการนโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีดำเนินการโดย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.)สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตุลาคม 2548
สภาวะอากาศของโลกร้อนขึ้น ในช่วงศตวรรษที่ 20 อุณหภูมิเฉลี่ยที่ผิวโลกเพิ่มขึ้นถึง 0.6 องศาเซลเซียส (1ºF) และทศวรรษ 1990 เป็นทศวรรษที่ร้อนที่สุดในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา โดยมีปี 1998,2001 และ 2002 เป็นปีที่ร้อนที่สุดที่เคยมีการบันทึกไว้ อุณหภูมิโลกมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นถึง 1.4 – 5.8 องศาเซลเซียสภายในปี ค.ศ. 2100 ซึ่งจะส่งผลต่อ ปริมาณน้ำฝน พายุ น้ำท่วม ภัยแล้ง และระดับน้ำทะเลเป็นต้น
ปริมาณน้ำฝนเป็นปัจจัยที่ปรวนแปร และมีการตรวจวัดกันบนพื้นดินเท่านั้น และยิ่งหากตรวจวัดในพื้นที่ที่เล็กลง ผลความแปรปรวนที่ได้จะยิ่งมากขึ้น อย่างไรก็ดี จากการรายงานของIPCC Second Assessment Report (SAR) ปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 1 ต่อช่วงเวลา100 ปี
นอกจากปริมาณน้ำฝน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังอาจส่งผลกระทบต่อการ
กระจายของน้ำฝนอีกด้วย ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันพบว่าอเมริกาเหนือมีวันที่ฝนตกหนักเกิน 2 นิ้วถี่ขึ้น
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือภาวะโลกร้อน หรือ ปรากฏการณ์เรือนกระจก(Climate change, global warming, greenhouse effect) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว และจะยังคงดำเนินต่อไป ซึ่งจะส่งผลกระทบนานับปการต่อวิถีชีวิตและการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของมนุษย์