โครงการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำร่างแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เอกสารทางวิชาการ หมายเลข 33 ทฤษฎีความขัดแย้งและการวิเคราะห์ปัญหาความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อม ในประเทศไทย ดร.วรศักดิ์ พ่วงเจริญ ได้รับการสนับสนุนจากโครงการนโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีดำเนินการโดย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีนาคม 2549
ความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวางในหลากหลายสาขาวิชา เช่น รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ และสิ่งแวดล้อมศึกษา (Beder, 1991; Doyle and Kello,1995; Harding, 1998; Wynne, 1989) เมื่อพิจารณาถึงสาเหตุของความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อมพบว่ามีหลายประการ เช่น การพัฒนาที่มุ่งประสงค์ต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญโดยละเลยถึงความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนอกจากนี้ โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่มีการใช้เทคโนโลยีที่มีความสลับซับซ้อนไม่เพียงแต่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเท่านั้นยังส่งผลกระทบถึงระบบนิเวศ และคุณภาพชีวิตของประชาชน (Tillet, 1999)
115-33 ทฤษฎีความขัดแย้งและการวิเคราะห์ปัญหาความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อม
Platforms: | Windows 8 |
Category: | การมีส่วนร่วมของประชาชน |
วันที่: | มิถุนายน 5, 2016 |