โครงการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำร่างแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เอกสารทางวิชาการ หมายเลข 35 นโยบายการศึกษาและประชาสัมพันธ์ด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อลิศรา ชูชาติ ได้รับการสนับสนุนจากโครงการนโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีดำเนินการโดย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีนาคม 2549
การศึกษาและการประชาสัมพันธ์ด้านสิ่งแวดล้อมไม่เป็นเพียงภารกิจระดับประเทศเท่านั้นแต่เป็นงานและภารกิจระดับโลกและระดับนานาชาติ เราได้เห็นความความพยายามในระดับนานาชาติที่ให้ความสำคัญของานสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยเริ่ม องค์การ International Union for Conservation of Nature and National Resource ได้ จัดการประชุมด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาในระดับนานาชาติเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) ซึ่งมีผลต่อ การพัฒนาแนวคิดและหลักการสิ่งแวดล้อมศึกษา จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515) องค์กาสหประชาชาติ จากการประชุมด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ณ กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ได้มีการกำหนดบทบาทของสิ่งแวดล้อมศึกษาให้เป็นหัวใจสำคัญของกลยุทธ์ของนานาประเทศในการต่อสู้กับวิกฤติของปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก และในปี ค.ศ. 1974 (พ.ศ. 2517) ที่ประชุมองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนาธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้สรุปเป้าหมายและหลักการของสิ่งแวดล้อมศึกษาว่าต้องเป็นการศึกษาตลอดชีวิต
117-35 นโยบายการศึกษาและประชาสัมพันธ์ด้านสิ่งแวดล้อม
Platforms: | Windows 8 |
Category: | การมีส่วนร่วมของประชาชน |
วันที่: | มิถุนายน 5, 2016 |