โครงการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำร่างแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เอกสารทางวิชาการ หมายเลข 6 นโยบายด้านสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวรรณา ประณีตวตกุลได้รับการสนับสนุนจากโครงการนโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีดำเนินการโดย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.)สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีนา ศาสตราจารย์ ดร.ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ ได้รับการสนับสนุนจากโครงการนโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีดำเนินการโดย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.)สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีนาคม 2549
ประเทศไทยจัดเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญของโลกประเทศหนึ่ง ในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา การพัฒนาการเกษตรของประเทศไทย มีจุดมุ่งหมายด้านการเพิ่มผลผลิตเป็นสำคัญ โดยมุ่งเน้นเพื่อการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารสู่ตลาดโลก จึงมีการพึ่งพาปัจจัยการผลิตต่างๆเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องปัจจัยการผลิตที่สำคัญประเภทหนึ่ง ได้แก่ สารกำจัดศัตรูพืช ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าสารกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ตารางผนวกที่ 1) เมื่อพิจารณาปริมาณการนำเข้าสารเคมีใน ปี 2547 เท่ากับ102,822 ตัน คิดเป็นมูลค่า 10,370 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 215 ในด้านปริมาณ และ ร้อยละ 93 ในด้านมูลค่า ใน 6 ปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับ ปี 2541 ปริมาณการนำเข้าสารกำจัดศัตรูพืช เท่ากับ 32,552ตัน คิดเป็นมูลค่า 5,377 ล้านบาท ตามลำดับ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2548) อย่างไรก็ตามปัจจุบัน มนุษย์เริ่มตระหนักถึงความสำคัญของผลกระทบจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตรที่มีต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้สารกำจัดศัตรูพืชติดต่อกันเป็นเวลานานส่งผลทำให้ศัตรูพืชสร้างความต้านทานต่อสารเคมีที่ใช้ พบครั้งแรกในฝ้าย ประมาณปี พ.ศ. 2512-14 (กรมวิชาการเกษตร, 2545) ทำให้ต้องมีการใช้สารเคมีในอัตราที่สูงขึ้นหรือที่มีพิษรุนแรงขึ้น สารกำจัดศัตรูพืชเป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ทั้งในระยะสั้นและยาว โดยสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และผู้ฉีดพ่นสารเคมีที่ไม่มีการป้องกันที่ถูกต้องได้รับพิษจากสารเคมีที่ฉีดพ่นเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนั้น