ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของประเทศไทย

แนวทางการพัฒนาไม้เศรษฐกิจของประเทศไทย
มิถุนายน 6, 2016
พัฒนาการของหลักกฎหมายสิ่งแวดล้อมและสิทธิชุมชน
มิถุนายน 6, 2016

โครงการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำร่างแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เอกสารทางวิชาการ หมายเลข 24 ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของประเทศไทย ดร.ศุภวัจน์ รุ่งสุริยะวิบูลย์ ดร.ปิยะลักษณ์ พุทธวงศ์ ได้รับการสนับสนุนจากโครงการนโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีดำเนินการโดย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีนาคม 2549

พลังงานเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชนอีกทั้งยังเป็นปัจจัยพื้นฐานของการผลิตทั้งในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม พลังงานจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อความสำคัญในการพัฒนาประเทศทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง พลังงานที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ พลังงานที่ใช้แล้วสูญสิ้น (Non renewable energy) และพลังงานที่ใช้แล้วไม่สูญสิ้น (Renewable energy) พลังงานที่ใช้แล้วสูญสิ้นหมายถึงพลังงานที่ใช้แล้วหมดไปไม่สามารถหามาทดแทนได้และเมื่อใช้แล้วจะก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา ได้แก่ น้ำมัน ถ่านหิน หินน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และยูเรเนียม เป็นต้น พลังงานที่ใช้แล้วไม่สูญสิ้นหมายถึงพลังงานที่สามารถหามาทดแทนได้และเป็นพลังงานสะอาดเมื่อใช้แล้วไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานไฟฟ้าจากพลังน้ำ พลังงานคลื่น และพลังงานเชื้อเพลิงธรรมชาติในรูปของฟืนหรือถ่าน เป็นต้น ปัจจุบันพลังงานที่ใช้กันในทั่วโลกเกือบร้อยละ 80 มาจากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ Fossil fuel) อันได้แก่ น้ำมันถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ

106-24 ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของประเทศไทย
922.7 KB
233 Downloads
รายละเอียด

Comments are closed.