โครงการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำร่างแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เอกสารทางวิชาการ หมายเลข 25 พัฒนาการของหลักกฎหมายสิ่งแวดล้อมและสิทธิชุมชน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กอบกุล รายะนาครได้รับการสนับสนุนจากโครงการนโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ดำเนินการโดย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีนาคม 2549
ในช่วงกว่าสามทศวรรษที่ผ่านมาได้มีกระแสความตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมในระดับระหว่างประเทศซึ่งมีผลต่อนโยบายและกฎหมายสิ่งแวดล้อมในระดับประเทศเป็นอันมาก ทั้งในด้านพันธกรณีที่ประเทศต่างๆต้องปฏิบัติตามภายใต้อนุสัญญาและความตกลงเรื่องสิ่งแวดล้อมฉบับต่างๆ และในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลข้ามเขตแดน ซึ่งถือว่าเป็นความห่วงใยร่วมกัน (common concern) แม้การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติจะเป็นเรื่องสำคัญ แต่นานาประเทศก็ยอมรับร่วมกันว่าเรามิอาจจะพิจารณาปัญหาสิ่งแวดล้อมแยก
ต่างหากจากปัญหาการพัฒนา กล่าวคือ การพัฒนาทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาจะต้องดำเนินต่อไป โดยคำนึงถึงการรักษาฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมมิให้เสื่อมโทรม จนถึงขนาดที่ไม่สามารถจะกลับคืนดีได้ ซึ่งเป็นที่มาของหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainabledevelopment) อันเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อมของทุกๆประเทศมาจนทุกวันนี้