มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ (Public Policy Studies Institute Foundation : PPSI)มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ (Public Policy Studies Institute Foundation : PPSI)มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ (Public Policy Studies Institute Foundation : PPSI)มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ (Public Policy Studies Institute Foundation : PPSI)
    • Home
    • เกี่ยวกับ PPSI
      • Contact Form
      • Maps
      • Site Map
    • ข่าวสาร
      • ข่าวจากหนังสือพิมพ์
      • ข่าวสาร PPSI
      • ข่าวสารงานวิจัย
    • ท้องถิ่นและชุมชน
      • เครือข่าย
    • เอกสารเผยแพร่
      • บทความ ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด
        • จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
        • จากหนังสือพิมพ์มติชน
        • จากหนังสือพิมพ์อื่นๆ
      • หนังสือชุด “สู่อนาคตไทย”
      • ระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอุทกภัย
    • LIBRARY
    ✕

    พิพิธภัณฑ์มีชีวิตเมืองแม่ฮ่องสอน

    • Home
    • Blog
    • ข่าวสาร ข่าวสาร PPSI
    • พิพิธภัณฑ์มีชีวิตเมืองแม่ฮ่องสอน
    โครงการย่อยที่ 3 การระบบสารสนเทศองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน
    มีนาคม 8, 2016
    โลกาภิวัตน์ ท้องถิ่นภิวัตน์ นโยบายภิวัตน์
    มีนาคม 8, 2016
    Published by Bensiya Pan on มีนาคม 8, 2016
    Categories
    • ข่าวสาร PPSI
    • ท้องถิ่นและชุมชน
    • ท่องเที่ยว: ตลาดและนโยบายสาธารณะ
    Tags
    • Living Museum
    • คนแม่ฮ่องสอน
    • พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต
    • พิพิธภัณฑ์มีชีวิตเมืองแม่ฮ่องสอน
    • สร้างเสริมนโยบายสาธารณะ
    • อนุรักษ์

    พิพิธภัณฑ์มีชีวิตเมืองแม่ฮ่องสอน

    เบื้องหลังการทำสกู๊ปพิเศษ แม่ฮ่องสอน Living Museum พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต

    โดย

    1. ดร.ณวิทย์ อ่องแสวงชัย อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    2. กัสซี่ อังก์ นักเขียน
    3. ธนภูมิ อโศกตระกูล (ดวง) เป็นทั้งเจ้าของกิจการปิ่นโตปลอดเนื้อ และนักเขียน
    4. คนึงหา สุภานันท์ เลขานุการนายกเทศมนตรีเมืองแม่ฮ่องสอน
    5. สมโณ แสงหิรัญ (เดี่ยว) สถาปนิก Creation Tamarind Chiang Mai Company
    6. ทิกกร สุวรรณชิน (ปาน) สถาปนิกและเจ้าของกิจการฟาร์มไข่ไก่
    7. ธเนศ มณีศรี จิตรกร
    8. กรินทร์ มงคลพันธ์ หัวหน้าช่างภาพนิตยสาร COMPASS
    9. อภิรักษ์ โฆษกิจจาวุฒิ ช่างภาพนิตยสาร COMPASS

    บทนำ

    เทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีนโยบายการพัฒนาเมืองที่น่าสนใจและถือเป็นแบบอย่างที่ดีในการพัฒนาเมืองให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ ได้ ความสามารถในการบริหารจัดการเมืองนี้ ยืนยันได้จากรางวัลต่างๆ ที่เทศบาลได้รับ โดยรางวัลล่าสุดได้แก่รางวัลชนะเลิศเทศบาลน่าอยู่อย่างยั่งยืน ประจำ ปี 2552 (รางวัลสำหรับเทศบาลขนาดกลาง) ซึ่งเป็นโครงการที่จัดโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมกับสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยและสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยผู้บริหารเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอนบริหารจัดการเมืองตามแนวคิด ‘อนุรักษ์’ ไม่ใช่รื้อแล้วสร้างภายใต้นโยบาย “คนแม่ฮ่องสอน ไม่มีทุกข์มีแต่สุขมีแต่งานบุญ” แม่ฮ่องสอนจึงมีแนวทางการพัฒนาเมืองที่แตกต่างจากเมืองท่องเที่ยวโดยทั่วไปที่มุ่งแต่การพฒันาทางด้านวตัถุและสาธารณปูโภคเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว
    จนไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ และเป็นส่วนหนึ่งของทรัพยากรการท่องเที่ยวเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอนเริ่มต้นการพัฒนาเมืองโดยการอนุรักษ์และส่งเสริมวิถีท้องถิ่นทำให้เมืองทั้งเมืองกลายเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิต โดยการรณรงค์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรม สืบทอดประเพณีโบราณเน้นการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ และคุณธรรมควบคู่ไปกับการพัฒนาสภาพแวดล้อมเมือง และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การดำเนินการเหล่านี้ใช้หลักการการมีส่วนร่วมของประชาชน และการบริหารงานโดยยึดหลักประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เน้นการใช้ต้นทุนต่ำมีความคล่องตัว และมุ่งพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรของเทศบาลไปพร้อมๆกันแผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (แผนงาน นสธ.) ได้เห็นถึงความสามารถในการบริหารจัดการเมืองอย่างยั่งยืนดังกล่าวจึงได้ร่วมกับสำนักสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่และชุมชนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดพิมพ์หนังสือพิพิธภัณฑ์มีชีวิตเมืองแม่ฮ่องสอนนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่ความเป็นเมืองน่าอยู่และแนวคิดการจัดการเมืองให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ และผู้ที่สนใจได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดีรักษาอัตลักษณ์และสร้างความภาคภูมิใจให้กับคนในท้องถิ่นอีกด้วย

    เอกสารดาวน์โหลดเป็น PDF

    พิพิธภัณฑ์มีชีวิตเมืองแม่ฮ่องสอน (9.9 MB, 1399 downloads)

    Share
    0
    Bensiya Pan
    Bensiya Pan

    Related posts

    พฤษภาคม 3, 2020

    คู่มือการวิเคราะห์การลงทุนของโฮมสเตย์ชุมชน


    Read more
    พฤษภาคม 3, 2020

    รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ชุดโครงการ การศึกษาเศรษฐกิจท่องเที่ยวชุมชอย่างครบวงจร: จากโซเชียลมีเดียถึงชุมชนท่องเที่ยว


    Read more
    พฤษภาคม 3, 2020

    โครงการวิจัยย่อยที่ 2 พฤติกรรมและความต้องการท่องเที่ยวชุมชนผ่านโซเชียลมีเดีย ภายใต้ชุดโครงการ 2562 การศึกษาเศรษฐกิจท่องเที่ยวชุมชนอย่างครบวงจร: จากโซเชียลมีเดียถึงชุมชนท่องเที่ยว


    Read more

    Comments are closed.

    มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ (Public Policy Studies Institute Foundation : PPSI)

    ที่อยู่

    มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ
    (Public Policy Studies Institute Foundation : PPSI)
    การจัดตั้ง มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ

    ที่ตั้งของมูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ

     เลขที่ 145/5 หมู่ที่ 1 ถนนค่ายลูกเสือสุเทพ  ตำบลช้างเผือก  อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

    แผนที่การเดินทาง (Google Map)

    © 2022 มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ (Public Policy Studies Institute Foundation : PPSI) www.ppsi.or.th