มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ (Public Policy Studies Institute Foundation : PPSI)มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ (Public Policy Studies Institute Foundation : PPSI)มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ (Public Policy Studies Institute Foundation : PPSI)มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ (Public Policy Studies Institute Foundation : PPSI)
    • Home
    • เกี่ยวกับ PPSI
      • Contact Form
      • Maps
      • Site Map
    • ข่าวสาร
      • ข่าวจากหนังสือพิมพ์
      • ข่าวสาร PPSI
      • ข่าวสารงานวิจัย
    • ท้องถิ่นและชุมชน
      • เครือข่าย
    • เอกสารเผยแพร่
      • บทความ ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด
        • จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
        • จากหนังสือพิมพ์มติชน
        • จากหนังสือพิมพ์อื่นๆ
      • หนังสือชุด “สู่อนาคตไทย”
      • ระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอุทกภัย
    • LIBRARY
    ✕

    รัฐธรรมนูญ การกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมของประชาชน

    • Home
    • Blog
    • Library การเมืองและนโยบายสาธารณะ
    • รัฐธรรมนูญ การกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมของประชาชน
    โลกาภิวัตน์ ท้องถิ่นภิวัตน์ นโยบายภิวัตน์
    มีนาคม 8, 2016
    บทบาทของมหาวิทยาลัยกับการวิจัยและพัฒนานโยบายสาธารณะที่ดี
    มีนาคม 8, 2016
    Published by Bensiya Pan on มีนาคม 8, 2016
    Categories
    • การเมืองและนโยบายสาธารณะ
    • ข่าวสารงานวิจัย
    • ท้องถิ่นและชุมชน
    Tags
    • การกระจายอำนาจ
    • การมีส่วนร่วมของประชาชน
    • ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
    • รัฐธรรมนูญ

    รัฐธรรมนูญ การกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมของประชาชน

    ผู้เขียน

    ผศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    ที่ปรึกษา

    ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด

    บรรณาธิการ

    ยุวดี คาดการณ์ไกล

    ผู้ช่วยบรรณาธิการ

    คณาวุฒิ เอี่ยมสำอางค

    คำนำ

    ตั้งแต่ประเทศไทยมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540เป็นต้นมา เป็นผลให้มีการตราพ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 อาจกล่าวได้ว่า เป็นการเปิดศักราชใหม่ของการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย ก่อเกิดหน่วยปกครองในระดับพื้นที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งนอกจากหน่วยเทศบาลแล้ว ยังมีองค์การบริหารส่วนจังหวัดและองค์การบริหารส่วนตำบล นับรวมจำนวนกว่าหมื่นแห่งทั่วประเทศเพื่อให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน ต่อมาภายหลังยังมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พ.ศ.2550 ที่เพิ่มอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้นเป็นลำดับจากวันนั้นจวบจนถึงวันนี้ 15 ปี แห่งการกระจายอำนาจยุคใหม่หากมองในแง่ดี การกระจายอำนาจได้เปิดโอกาสการพัฒนาศักยภาพและการบริหารจัดการให้กับท้องถิ่นโดยชุมชนท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น อย่างไรตาม หลายฝ่ายยังเห็นร่วมกันว่าการพัฒนาความเจริญและสร้างความเข้มแข็งให้กับท้องถิ่นน่าจะไปได้ไกลกว่านี้ ในแง่นี้เองเมื่อคณะกรรมการจัดประชุมสมัชชาปฏิรูป ครั้งที่ 2 พ.ศ.2555 ในปีนี้เอง กำหนดให้มีการทบทวนประเด็นโครงสร้างอำนาจระหว่างรัฐบาล ท้องถิ่นและชุมชน จึงพบว่าความเหลื่อมล้ำของอำนาจดังกล่าวยังคงดำรงอยู่กล่าวคือ รัฐยังคงรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ท้องถิ่นยังประสบอุปสรรคจากกฎระเบียบที่รัฐส่วนกลางกำหนด สมัชชาปฏิรูปจึงเรียกร้องการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจเพื่อมุ่งสู่การปรับดุลอำนาจระหว่างรัฐบาล ท้องถิ่นและชุมชนงานวิจัยของ ผศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย เรื่อง รัฐธรรมนูญ การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชนเล่มนี้ สนับสนุนโดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผลการศึกษาสอดคล้องยืนยันและสนับสนุนต่อประเด็นปัญหาที่กล่าวข้างต้น ว่าท้องถิ่นยังมีข้อจำกัดในการดำเนินภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนและการมีส่วนร่วมของประชาชนในกลไกการบริหารของท้องถิ่นแม้ว่ารัฐธรรมนูญในฐานะที่เป็นสถาบันหลักของชาติได้กำหนดกรอบการกระจายอำนาจไว้ชัดเจนก็ตามแต่ในทางปฏิบัติผู้วิจัยพบว่า ท้องถิ่นตกอยู่ภายใต้โครงกรอบแรงจูงใจที่ต้องรับผิดชอบต่อรัฐส่วนกลางมากกว่าเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นขณะเดียวกันบทวิจารณ์ของผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสองท่านคือ ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ และ รศ.วุฒิสาร ตันไชย ได้ให้มุมมองทั้งสนับสนุนและเสริมเพิ่มเติมแง่คิดบางประการไว้อย่างน่าสนใจ

    เอกสารดาวน์โหลดเป็น PDF

    รัฐธรรมนูญ การกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมของประชาชน (482.5 KB, 4512 downloads)

     

    Share
    0
    Bensiya Pan
    Bensiya Pan

    Related posts

    พฤษภาคม 3, 2020

    โครงการวิจัยย่อยที่ 2 พฤติกรรมและความต้องการท่องเที่ยวชุมชนผ่านโซเชียลมีเดีย ภายใต้ชุดโครงการ 2562 การศึกษาเศรษฐกิจท่องเที่ยวชุมชนอย่างครบวงจร: จากโซเชียลมีเดียถึงชุมชนท่องเที่ยว


    Read more
    กุมภาพันธ์ 11, 2019

    รายงานการศึกษา โครงการวิจัยเพื่อประเมินความคุ้มค่าของโครงการวิจัยและพัฒนา (NRU)


    Read more
    มิถุนายน 7, 2016

    เทศบาลตำบลเนินกุ่ม อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก


    Read more

    Comments are closed.

    มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ (Public Policy Studies Institute Foundation : PPSI)

    ที่อยู่

    มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ
    (Public Policy Studies Institute Foundation : PPSI)
    การจัดตั้ง มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ

    ที่ตั้งของมูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ

     เลขที่ 145/5 หมู่ที่ 1 ถนนค่ายลูกเสือสุเทพ  ตำบลช้างเผือก  อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

    แผนที่การเดินทาง (Google Map)

    © 2022 มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ (Public Policy Studies Institute Foundation : PPSI) www.ppsi.or.th