บทความโดย: รศ. ดร. มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด
รูปจาก http://papvad.blogspot.com/2013/01/blog-post_7.html
เมื่อประมาณกึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ต้นน้าทางภาคเหนือของไทยปกคลุมด้วยป่าไม้ อย่างหนาแน่น แต่เพราะการพัฒนาอุตสาหกรรมป่าไม้ การเพิ่มขึ้นของประชากร และการขยาย พื้นที่เกษตรกรรม ทาให้พื้นที่ป่าต้นน้าต้องหดหายไป พร้อมๆ กันนี้ความสมบูรณ์ของน้าท่าก็ได้ ลดลงไปด้วย จึงเป็นที่เชื่อกันอย่างแพร่หลายว่าการสูญเสียป่าทาให้ฝนลดลง ซึ่งส่งผลทาให้ปริมาณน้าท่าลดลงด้วย และการกระจายของฝนไม่สม่าเสมอเหมือนเดิม ความเชื่อดังกล่าวกลายเป็นสมมติฐานของนโยบาย “ป่าเพื่อน้า” จนทาให้เกิดการสรุปเป็นคาขวัญที่เห็นดาษดื่นทั่วไปว่า “ไม่มีป่า ไม่มีน้า” “อยากได้น้าต้องรักษาป่า” “ขาดน้า ขาดป่า ขาดใจ”
ความเชื่อที่ว่า ป่ามีอิทธิพลต่อฝนนั้นมีข้อมูลสนับสนุนอยู่ 2 ประการด้วยกัน คือ หนึ่ง การทาแบบจาลองการศึกษาปริมาณฝน โดยศึกษาการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าขนาดใหญ่มากซึ่งมีขนาดที่ใกล้เคียงกับการเปลี่ยนแปลงในลุ่มแม่น้าอเมซอนมาเป็นทุ่งหญ้า ซึ่งแบบจาลองนี้พยากรณ์ว่า การสูญเสียพื้นที่ป่าทาให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นและทาให้ปริมาณฝนลดลง สอง ป่าที่อยู่ในที่สูงมากกว่า 1,800 เมตรจากระดับน้าทะเลขึ้นไป หรือที่เรียกว่าป่าเทียมเมฆสามารถก่อให้เกิดละอองและหยดน้าค้างบนกิ่งใบและเพิ่มปริมาณน้าท่าขึ้นได้มากขึ้นร้อยละ 5-20 นอกจาก 2 กรณีนี้แล้วก็ยังไม่มีข้อมูลใดสนับสนุนว่าป่าทาให้เกิดฝน
ประเทศไทยไม่มีป่าใหญ่ในขนาดเดียวกับป่าในแบบจาลองที่ว่านั้น ส่วนป่าเทียมเมฆก็มีอยู่ที่เดียวคือ ยอดดอยอินทนนท์ ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย แต่ก็เป็นป่าขนาด ค่อนข้างเล็ก ที่จริงในระดับความสูง 1,800 เมตร ถึงแม้ไม่มีป่าแต่เมื่อไอน้าลอยขึ้นไปพบอากาศเย็นก็มีแนวโน้มที่จะกลั่นตัวอยู่แล้ว ในทวีปอเมริกาใต้บนเขตเทือกเขาสูงชาวบ้านอาศัยปรากฎการณ์นี้เก็บเกี่ยวน้าโดยขึงลวดเพื่อดักไอน้าในอากาศ
สาหรับฝนในประเทศไทยเป็นฝนจากมรสุมและยังไม่มีหลักฐานความสัมพันธ์ระหว่าง ป่าและน้าที่แน่ชัด การศึกษาในไทยโดยอาศัยข้อมูลฝนร้อยปีของกรมชลประทานของ Andrew Walker นักวิชาการชาวออสเตรเลียพบว่า ไม่มีหลักฐานความสัมพันธ์ระหว่างป่ากับฝนที่ยืนยันได้ การศึกษาของอาจารย์นิพนธ์ ตั้งธรรม จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พบว่า เมื่อป่าไม้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือลดลงปริมาณฝนมิได้ลดลง แต่พื้นที่ป่ามีผลต่อจานวนวันที่ฝนตก
ความเชื่อที่แพร่กลายอีกประการหนึ่งคือ ป่าดูดซับและอุ้มน้าไว้ในฤดูฝนและป่าไม่ใช้น้าแต่จะปลดปล่อยน้าออกมาในฤดูแล้ง ความเชื่อนี้ไม่ได้คานึงถึงความจริงที่ว่าไม่ว่าจะในฤดูฝนหรือในฤดูแล้ง ต้นไม้ก็ต้องการดูดน้าที่อยู่บริเวณรากไปเพื่อใช้ในกระบวนการเจริญเติบโตของต้นไม้เอง ต้นไม้ยิ่งใหญ่ก็ยิ่งต้องการน้ามาก นอกจากนี้ต้นไม้ที่มีพุ่มเรือนยอดหนาแน่นและใหญ่โตก็จะมีการระเหยของน้ามากคือ น้าฝนส่วนหนึ่งที่เกาะบนกิ่งใบจะระเหยไปในอากาศข้อมูลทางอุทกวิทยา ชี้ให้เห็นว่า ป่าใช้น้าถึงร้อยละ 70 – 80 ของฝนที่ตกลงมา มีการทดสอบในประเทศมาเลเซียระหว่างเขตต้นน้า 2 แห่ง พบว่าในช่วง 1 – 3 ปีแรกหลังจากการตัดไม้พบว่าปริมาณน้าท่าผิวดินกลับสูงมากขึ้น การศึกษาคอสตาริการะบุว่า ความชุ่มชื้นในดินนั้นสูงที่สุดในพื้นที่ที่มีการตัดฟันเมื่อเทียบกับป่าแปลงที่สมบูรณ์โดยเฉพาะในช่วง 1 – 2 ปีแรก แต่ในประเทศไทยยังไม่เคยมี การศึกษาประเด็นนี้อย่างจริงจัง
ผลของป่าไม้ต่อปริมาณน้าท่าหรือน้าผิวดินยังขึ้นอยู่กับชนิดของพืช การใช้ที่ดิน และการทดแทนพื้นที่ป่าผลัดใบซึ่งหยุดการเจริญเติบโตในฤดูแล้งด้วยการปลูกพรรณไม้ไม่ผลัดใบหรือไม้โตเร็วอื่นๆ ขึ้นทดแทนจะทาให้ปริมาณน้าท่าลดลง ตัวอย่างเช่น ถ้าลดพื้นพุ่มเรือนยอดโดย การตัดสางต้นไม้ออกในสวนป่าไม้สนและไม้ยูคาลิปตัสลงร้อยละ 10 จะทาให้มีปริมาณน้าท่าเพิ่มสูงขึ้น 40 และ 25 มิลลิเมตร ตามลาดับ การปลูกป่าไม้ผลัดใบ เช่น ไม้สนทดแทนป่าเบญจพรรณที่ผลัดใบจะทาให้การใช้น้าในฤดูแล้งเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 การทดแทนพื้นที่การทาไร่หมุนเวียนเหล่านั้นด้วยการปลูกข้าวนาดาหรือพืชที่ใช้น้ามากจะทาให้ปริมาณน้าท่าลดลง จากข้อมูลเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าความพยายามที่จะให้ชาวไทยภูเขาทานาดาอาจทาให้ปริมาณน้าท่าลดลงเมื่อเทียบกับการปลูกข้าวไร่แบบหมุนเวียน
ข้อความข้างต้นไม่ได้หมายความว่าปริมาณน้าท่าควรเป็นเป้าหมายประการเดียวของ การจัดการต้นน้าเท่านั้น แต่การจัดการต้นน้าอย่างมีประสิทธิภาพต้องคานึงถึงความได้เปรียบหรือต้นทุนธรรมชาติ และประโยชน์ที่ต้องการจากลุ่มน้านั้นๆ ผู้เขียนไม่ได้หมายความว่าน้าควรจะถูก เก็บไปใช้สาหรับชุมชนพื้นราบเท่านั้นโดยไม่คานึงถึงชุมชนภูเขา แต่สิ่งที่สาคัญคือผู้วางนโยบาย ผู้บริหารและประชาชนควรมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับผลกระทบของการใช้ที่ดินบริเวณลุ่มน้าตอนบนต่อปริมาณน้าท่า เพื่อว่าผู้วางนโยบายจะมีข้อมูลที่ชัดเจน ส่วนผู้ใช้น้าทั้งต้นน้าและ ปลายน้าจะต้องมีความรู้นี้ เพื่อที่จะสามารถต่อรองและแลกเปลี่ยนการใช้น้าโดยอาศัยความรู้และหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นในขั้นแรกต้องมีการรวบรวมการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสภาพและปัญหาในประเทศไทย และนาข้อมูลเหล่านั้นมาศึกษาหาความรู้และแนวทางการแก้ไข ซึ่งในทางปฏิบัติต้องคานึงถึงสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ด้วยตลอดจนผลได้ผลเสียต่างๆ
ที่สาคัญคือ ความเข้าใจและความเชื่อ อาจจะนาให้เกิดการใช้นโยบายที่ไม่เหมาะสมหรือมีอคติตามความเชื่อไปด้วย เช่น ความเข้าใจที่ว่าป่าทาให้เกิดฝน ทาให้มุ่งเน้นการรักษาป่าแทนการเก็บค่าน้าจากประชาชนเพื่อลดการใช้ที่ฟุ่มเฟือย ซึ่งนโยบายที่แตกต่างกันนี้มีผลด้านความ เป็นธรรมที่แตกต่างกันมาก การลดการปลูกพืชหมุนเวียนในที่สูงมีผลให้ชาวไทยภูเขาต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตในขณะที่คนกรุงเทพก็ยังใช้น้าได้ฟุ่มเฟือยเหมือนเดิม
วิถีชีวิตนั้นย่อมต้องเปลี่ยนอยู่แล้วตามกาลเวลา แต่การเปลี่ยนวิถีชีวิตควรเป็นการเปลี่ยนอย่างมีทางเลือกและไม่ใช่ว่าต้องเปลี่ยนตามนโยบายที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานความรู้ที่ถูกต้อง การสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องจึงเป็นก้าวสาคัญของการอานวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชาติ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของชาติยุทธศาสตร์หนึ่งในเวลานี้
ผู้เขียน: | เบญสิร์ยา ปานปุญญเดช |
Platforms: | Windows 8 |
Category: | ppsi |
วันที่: | มีนาคม 9, 2016 |