โครงการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำร่างแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เอกสารทางวิชาการ หมายเลข 34 แนวนโยบายการจัดการสิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรมสำหรับประเทศไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กอบกุล รายะนาคร ได้รับการสนับสนุนจากโครงการนโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีดำเนินการโดย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พฤษภาคม 2549
สิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรม (living modified organisms – LMOs) หรือที่มักเรียกกันทั่วไปจีเอ็มโอ (GMOs- genetically modified organisms) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกปรับแต่งพันธุกรรมโดยใช้เทคนิคตัดต่อยีน (recombinant DNA technology) หรือพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) เพื่อให้สิ่งมีชีวิตนั้นมีคุณสมบัติตามที่ต้องการ GMO ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมด้านเภสัชกรรมเพื่อผลิตฮอร์โมน ยา และวัคซีนมากว่า 25 ปีแล้ว แต่เมื่อมีการพัฒนาพืช GMO เพื่อใช้ในการเกษตรเพื่อเป็นอาหาร
ก็ก่อให้เกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารที่มาจาก GMO และผลกระทบต่อระบบนิเวศที่อาจเกิดจากการปล่อยพืช GMO ออกสู่สิ่งแวดล้อม แม้คำว่า GMO จะครอบคลุมถึงสิ่งมีชีวิตทุกประเภทตั้งแต่แบคทีเรีย ไวรัส พืชและสัตว์ แต่การต่อต้านและการกีดกันสินค้าที่เป็นGMO ที่เป็นประเด็นปัญหาหลักในขณะนี้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้ทดลองและเพาะปลูกพืช GMO รวมทั้งการควบคุมสินค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มี GMO เป็นส่วนประกอบ สำหรับการผลิตสัตว์ GMO นั้นส่วนใหญ่ยังอยู่ในขั้นการทดลอง ความเป็นไปได้ที่จะผลิตสัตว์ GMO
ในเชิงพาณิชย์ยังคงจำกัดอยู่ในเรื่องของการใช้สัตว์แปลงพันธุ์เพื่อใช้ในการผลิตทางอุตสาหกรรมและเภสัชกรรม การนำเสนอข้อมูลและข้อเสนอแนะในรายงานนี้จึงเกี่ยวข้องกับพืช GMO และอาหารที่มาจากGMO โดยจะพิจารณาสถานภาพของปัญหา ข้อถกเถียงเกี่ยวกับการยอมรับพืชและผลิตภัณฑ์ที่มาจาก GMO ข้อพิพาททางการค้าที่เกิดจากมาตรการควบคุมการนำเข้า และผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทยจากการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาด้านเทคโนโลยีชีวภาพและพันธุ์พืช GMO เพื่อประมวลข้อมูลในภาพรวมสำหรับเสนอแนะแนวนโยบายที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย
116-34 แนวนโยบายการจัดการสิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรมสำหรับประเทศไทย
Platforms: | Windows 8 |
Category: | การมีส่วนร่วมของประชาชน |
วันที่: | มิถุนายน 5, 2016 |