บทความโดย : มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด สถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ท่านนายกฯ ทักษิณ ของเรานับว่าเป็นนายกฯ ที่สามารถท้าทายความคิดความสามารถของนักวิชาการไทยได้มากที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทย เพราะท่านช่างสรรหาความคิดใหม่ๆ ก่อให้เกิดความเร้าใจในวงวิชาการไทยเป็นระยะๆ ทาให้ชีวิตนักวิชาการไม่อับเฉาน่าเบื่อเหมือนอย่างที่เคยเป็นมา
ในวันนี้ ผู้เขียนใคร่ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวความคิดที่จะแปลงทรัพย์สินให้เป็นทุนอีกครั้งใน 3 ประเด็น เพื่อช่วยให้สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ต้องรับลูกจากท่านนายกฯ ไปทางานได้ง่ายขึ้น ประเด็นที่ 1 ก็คือ การช่วยเหลือคนยากจนครั้งนี้ เป็นการแปลงทรัพย์สินซึ่งส่วนใหญ่เป็นทรัพย์สินส่วนรวมให้เป็นทุนส่วนตัว ประเด็นที่ 2 ทรัพย์สินเหล่านี้ส่วนหนึ่งไม่มีตลาดจึงไม่มีราคา ดังนั้นรัฐบาลจะต้องตีค่าหรือสร้างตลาดขึ้นมาก่อน แต่ทรัพย์สินส่วนรวมเหล่านี้บางชนิดเกิดขึ้นเพื่อลดปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมจึงมีปัญหาว่าควรจะแปลงให้เป็นสินค้าได้หรือไม่ ใครควรได้เป็นผู้ครอบครอง ประเด็นที่ 3 นโยบายช่วยเหลือคนยากจนที่กล่าวมานี้ เป็นนโยบายที่ไม่พุ่งเป้า (targeting) ไปที่คนจน ถ้าใช้เป็นมาตรการทั่วไปไม่เจาะจง (cross-the-board) ผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงจานวนมากอาจไม่ใช่คนจน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการกระจายรายได้ที่เลวไปกว่านี้อีก ผู้เขียนขอถือโอกาสนี้ให้รายละเอียดเบื้องต้นในแต่ละประเด็น
ในประเด็นที่ 1 คือการแปลงทรัพย์สินส่วนรวมให้เป็นทุนส่วนตัวนั้น นับเป็นวิธีการอุดหนุน (subsidy) คนจน โดยที่รัฐบาลไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่สินทรัพย์ส่วนรวมเหล่านี้มีคุณสมบัติต่างกัน เช่น ทรัพย์สินบางอย่างเรากันไว้ใช้ส่วนรวมเพื่อผลทางสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความปลอดภัยของประชาชน เช่น เขตต้นน้าชั้นหนึ่ง ทางเท้า ที่สาธารณะที่เป็นทางน้าหลาก ทรัพย์สินส่วนรวมเช่นนี้มีนัยเรื่องผลกระทบทางสังคมและคุณภาพชีวิตของคนอื่น รัฐจะเที่ยวเอาไปแจกใครไม่ได้ ดังนั้น แผงลอยขายลูกชิ้นทอดในที่สาธารณะซึ่งมีผู้สัญจรไปมาตลอดเวลาก็ไม่น่าจะนาไปจดทะเบียนได้ หากจะช่วยคนจนน่าจะมีทางเลือกอื่นที่เหมาะสมกว่านี้ เช่น เวนคืนที่ดินในเมืองเพื่อสร้างตลาดให้คนที่จนจริงๆ
ส่วนทรัพย์สิน เช่น ที่ดินรกร้างว่างเปล่าซึ่งเป็นที่ป่าที่รัฐบาลจะยกให้คนจนเป็นความคิดที่นักเศรษฐศาสตร์ยอมรับได้มากที่สุด ทั้งนี้มิใช่ว่านักเศรษฐศาสตร์ไร้เดียงสาจนไม่รู้ว่าคนจนอาจจะนาเอาที่ดินนั้นไปขายต่อ หากแต่ทาใจได้แล้วว่าเป็นการแจกเงินในรูปแบบหนึ่ง (โดยผ่านนายทุน) โดยที่รัฐบาลไม่ต้องควักกระเป๋า แต่เป็นการเพิ่มโอกาสและทางเลือกให้กับคนจนโดยที่คนจนจะได้เอาทุนนี้ไปทามาหากินทางอื่นได้ (ซึ่งหวังว่าจะไม่นาไปหักร้างถางพงต่อไปอีก) การให้ทุนที่เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่มีประสิทธิภาพการผลิตต่าอาจทาให้เกษตรกรเกิดหนี้สินเพิ่มขึ้นอีกก็ได้ หากจะให้คนจนมีทางเลือกที่จะยังคงอยู่ในภาคการเกษตรต่อไปนั้นคงจะต้องให้มากกว่าที่ดิน เช่น อาจต้องให้เทคโนโลยีและหาตลาดให้อีกด้วย
สาหรับทรัพย์สินที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมร่วมกัน เช่น น้าพริกหนุ่ม แหนม ลายผ้าไทยลื้อฯลฯ เป็นสมบัติร่วมกันหลายชุมชน จะไปยกเป็นส่วนตัวให้ใครหรือชุมชนใดก็คงทะเลาะกันทั้งเมือง วิธีการที่ชาวบ้านเปลี่ยนภูมิปัญญาบรรพบุรุษให้เป็นทุน ก็คือ การประกันคุณภาพในรูปเครื่องหมายการค้า หรือยี่ห้อ เช่น น้าพริกหนุ่มเจ๊แดง ฯลฯ จริงอยู่ที่ว่าใครๆ ก็ทาน้าพริกได้ แต่ถ้าจะกินน้าพริกให้อร่อยแบบเจ๊แดง ก็ต้องมาซื้อน้าพริกตราเจ๊แดงซึ่งรับประกันรสมือ ซึ่งการประกันคุณภาพผ่านเครื่องหมายการค้านี้มีกลไกตลาดทางานอยู่แล้ว สามารถประเมินราคาของยี่ห้อได้ง่ายจากยอดขาย ความคิดนี้จึงนับว่าไม่มีอะไรใหม่
ประเด็นที่สองเป็นประเด็นที่ยังไม่มีใครพูดถึงมากนัก คือการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุนจะต้องมีราคาหรือทาให้เกิดตลาด การที่สินค้ามีค่า (value) ไม่ได้หมายความว่าจะมีราคาเสมอไป ราคาจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการถ่ายโอนกรรมสิทธิ แต่การจะมีตลาดก็ต้องมีระบบมารองรับกรรมสิทธิเสียก่อนถึงจะเกิดการถ่ายโอน จานา จานองทรัพย์สินกันได้ คาถามสาคัญก็คือเราควรหรือไม่ที่จะทาให้เกิดตลาดที่ผูกขาดโดยปัจเจกชนในทรัพย์สินส่วนรวมบางอย่าง เช่น พันธุกรรมพืช ภูมิปัญญาบรรพชน ฯลฯ
ในปัจจุบันระบบที่รับรองสิทธิทางภูมิปัญญาคือ ระบบสิทธิบัตรสาหรับสิ่งประดิษฐ์แต่เป็นระบบที่ต้องพิสูจน์ความใหม่เฉพาะสิทธิบัตร ซึ่งส่วนใหญ่ภูมิปัญญาบรรพชนได้เป็นสมบัติสาธารณะ (public domain) มาเป็นเวลาหนึ่งแล้ว จึงยังไม่มีระบบคุ้มครองภูมิปัญญา (ก็ต้องอาศัยการรับรองสิทธิผ่านเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายรับรองเป็นการรับรองคุณภาพรสมือดังที่กล่าวมาแล้วในย่อหน้าข้างต้น)
การรับรองสิทธิของภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทพันธุ์พืชออกจะมีปัญหาหนักกว่าภูมิปัญญาอื่นๆ ตรงที่ว่า จะพิสูจน์ได้อย่างไรว่าภูมิปัญญานี้เป็นของผู้มาขอจดทะเบียนแต่ผู้เดียว และไม่ซ้าซ้อนกับบุคลากรอื่น ยกตัวอย่างพันธุ์ข้าว เช่น พันธุ์ข้าวท้องถิ่นที่ชื่อเหมยนอง มีคุณสมบัติทนเพลี้ย ซึ่งได้มีการคัดเก็บและแลกเปลี่ยนกันหลายหมู่บ้าน แล้วจะยกให้หมู่บ้านไหนดี ในประเด็นของการตีค่าก็ยังมีปัญหาอีกว่าคุณค่าส่วนไหนเป็นของส่วนรวม และส่วนไหนเป็นของปัจเจกที่จะพอให้ปัจเจกชนได้ ยกตัวอย่าง เช่น พันธุกรรมทนเพลี้ยของข้าวเหมยนองเป็นสมบัติส่วนรวม แต่มูลค่าที่ยกให้เป็นของชาวบ้านได้น่าจะได้แก่การลงทุนในการคัดพันธุ์ ขยายพันธุ์ และรักษาพันธุ์เอาไว้ ซึ่งนอกจากจะตีค่าไม่ง่ายแล้วค่าที่ประเมินอาจไม่มีราคาตลาดมารองรับ หรือความต้องการอาจจะต่าเพราะคนที่ต้องการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่พิเศษเหมือนกันหรือคนที่ต้องการเป็นคนจน
ประเด็นสุดท้ายเป็นประเด็นที่สาคัญมากหากรัฐบาลจะใช้นโยบายแปลงทรัพย์สินให้เป็นทุนสาหรับคนจนแล้ว ใครคือคนจน มีเงินเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าจน คนจนคือคนที่ไม่มีทุนพอไปทาแผงหรือมีรถเข็นใช่หรือไม่ จะใช้เงินเป็นตัววัดอย่างเดียวหรือ แผงลอยที่เซ้งกันบนทางเท้าไม่ใช่จะราคาถูกเสมอไป มิหนาซ้า เจ้าของแผงยังอาจเป็นมาเฟียแต่คนขายนั้นเป็นลูกจ้าง นโยบายที่ไม่เลือกคนจนคนรวยอาจจะมีผลเหมือนกับที่เกิดขึ้นมาแล้วคือ เศรษฐีมารับประโยชน์ไป การแปลงทรัพย์สินให้เป็นทุนจึงเป็นความคิดที่ท้าทายมากว่าจะแปลงไปเป็นการปฏิบัติให้อย่างเฉพาะเจาะจงกับคนจน ให้เกิดประสิทธิผลได้
การแปลงทรัพย์สินให้เป็นทุนเป็นประเด็นที่ซับซ้อนและต้องทาให้เป็นที่กระจ่างต่อประชา-ชนที่ไม่จน และเป็นผู้ต้องสูญเสียทรัพย์สินส่วนรวมให้เข้าใจและยอมรับวิธีการปฏิบัติของรัฐบาลได้ เมื่อท่านนายกฯ ได้เริ่มจุดประกายความคิดแล้ว ก็น่าจะให้เปิดเวทีเสรีเพื่อถกเถียงอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ที่ซับซ้อนเหล่านี้ รวมทั้งการมองหาทางเลือกอื่นๆ ที่อาจมีผลด้านความยากจนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรวจสอบนโยบายของรัฐที่มีผลทาให้คนจนจนลงอีกด้วย