โดย. ศาสตราจารย์ ตร.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด / ณัฐพล อนั้นต์ธนสาร / อรรถพันธ์ สารวงศ์ / ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.พนินท์ เครือไทย
/ วรัญญา บุตรบุรี / อ.ตร.รัญมัชฌ สรงบุญมี
มิถุนายน 2560
ประเทศไทยได้มีการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2558 มีค่าใช้จ่ายทางการวิจัยและพัฒนาประมาณ 79,698 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.61 ของ GDP และมีอัตราการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายทางการวิจัยสูงถึงร้อยละ 95 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2554 ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการลงทุนวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยีและพัฒนาบุคลากรการวิจัยให้สามารถนำผลผลิตต่างๆ ที่ได้จากการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ เชิงสาธารณะ หรือเชิงนใยบาย เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจสังคม และวิชาการของประเทศ
สำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนทุนวิจัยแก่มหาวิทยาลัยต่างๆ โดยได้ดำเนินโครงการมาแล้วเป็นระยะเวลา 6 ปี ตั้งแต่ปิ้งบประมาณ 2554 ซึ่งได้จัดสรรงบประมาณรวมทั้งสิ้น 5,000 ล้านบาท สำหรับมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ (National Research University: NRบ) 9 แห่ง และกลุ่มมหาวิทยาลัยที่กำลังพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัย (Higher Education Research Promotion: HERP) 70 แห่ง ในภาพรวม โครงการฯ สามารถสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ และบุคลากรระดับสูงด้านการวิจัยออกสู่สังคมได้เป็นจำนวนมาก ตลอดจนสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยทั้งภายในมหาวิทยาลัยและระหว่างมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ดี การศึกษาผลความคุ้มค่าเชิงเศรษจูกิจในภาพรวมก็มีความจำเป็น เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณการวิจัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ในปี พ.ศ. 2558 สำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ได้มีการดำเนินการศึกษาความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจของการลงทุนของรัฐเป็นครั้งแรก ซึ่งได้เริ่มตันจากการศึกษาความคุ้มค่าของโครงการวิจัยของหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติจำนวน 9 แห่ง รวมทั้งสิ้น 18 โครงการวิจัย โดยมีศาสตราจารย์ ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาดประธานชุปราคลัสเตอร์ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ให้คำแนะนำตลอดการประเมินจนแล้วเสร็จ ต่อมาในปี พ.ศ. 2559 จึงได้ขยายขอบเขตโครงการที่จะศึกษาความคุ้มค่ามายังกลุ่มโครงการวิจัยของกลุ่มมหาวิทยาลัยที่กำลังพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัย เพื่อใช้เป็นข้อมูลพิจารณาว่าโครงการวิจัยใดมีความเหมาะสมที่จะลงทุนต่อไปมากน้อยเพียงใด โครงการวิจัยสามารถสร้างผลกระทบด้านต่างๆ ต่อสังคมโดยรวมอย่างไร อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นแนวทางในการสนับสนุนการวิจัยในอนาคต
ศาสตราจารย์ ดร.วิชัย บุญแสง
ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
รายงานการศึกษา โครงการวิจัยเพื่อประเมินความคุ้มค่าของโครงการวิจัยและพัฒนา (NRU)
Platforms: | Windows 8 |
License: | Freeware |
วันที่: | พฤษภาคม 3, 2020 |